ปรับขนาดตัวอักษร
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ภาษา
เข้าสู่ระบบ

#วิธีรับมือดินถล่ม! อะไรคือสัญญาณเตือน-ทำอย่างไรจึงจะปลอดภัย

19 กันยายน 2567
ภาพกิจกรรมจาก Facebook
โดย “ดินถล่ม” เป็นภัยที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของดินหรือหินลงมาตามที่ลาดเชิงเขา มักเกิดขึ้นพร้อมกับหรือหลังจากเกิดน้ำป่าไหลหลาก รวมถึงในขณะหรือภายหลังฝนตกหนักต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะวิธีเตรียมพร้อมรับมือและปฏิบัติตนอย่างปลอดภัยจากดินถล่ม ดังนี้ #สัญญาณเตือนก่อนดินถล่ม - เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ติดต่อกันเป็นเวลานานบนภูเขาสูง มากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน หรือนานกว่า 6 ชั่วโมง - ระดับน้ำในแม่น้ำและลำห้วยเพิ่มสูงขึ้น น้ำมีสีขุ่นมากกว่าปกติ รวมถึงมีกิ่งไม้หรือท่อนไม้ ไหลปนมากับกระแสน้ำ - มีเสียงดังผิดปกติมาจากภูเขาหรือลำห้วย อาทิ เสียงหักของต้นไม้ เสียงแตกของหิน เสียงไหลของโคลน - สัตว์ป่ามีอาการแตกตื่น อาทิ ฝูงนกบินวนไปมาบนท้องฟ้า - ดินมีสภาพอิ่มน้ำ หรือชุ่มน้ำมากกว่าปกติ #เตรียมพร้อมรับมือดินถล่ม - สำรวจสภาพความเสี่ยงภัย หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงดินถล่ม ให้เตรียมพร้อมรับมือ และหมั่นสังเกตความผิดปกติ ทางธรรมชาติ - เฝ้าระวังสถานการณ์ภัย โดยติดตามพยากรณ์อากาศ และประกาศเตือนภัย พร้อมปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมถึงติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนในพื้นที่เสี่ยง - สังเกตสัญญาณความผิดปกติทางธรรมชาติ จะได้อพยพหนีภัยทันท่วงที - ศึกษาเส้นทางอพยพหนีภัย ซึ่งอยู่ห่างจากแนวการไหลของดินและน้ำ จะได้อพยพหนีภัยอย่างปลอดภัย #ปฏิบัติตนปลอดภัยเมื่อเกิดดินถล่ม - อพยพไปตามเส้นทางที่ปลอดภัย พ้นจากแนวการไหลของดินและน้ำ - หลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว เพราะอาจถูกน้ำพัดจมน้ำเสียชีวิตได้ - ไม่อยู่ใกล้ลำน้ำ เพราะอาจได้รับอันตรายจากดิน หิน ต้นไม้ที่ไหลมาตามลำน้ำ - กรณีพลัดตกน้ำ ให้หาต้นไม้ใหญ่ยึดเกาะและปีนให้พ้นน้ำ ห้ามว่ายน้ำหนี เพราะอาจกระแทกกับหินหรือซากต้นไม้ - ห้ามเข้าใกล้หรือกลับเข้าไปในบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย เพราะอาจเกิดดินถล่มซ้ำ #ขับรถผ่านเส้นทางเสี่ยงดินถล่มหรือถนนทรุดตัว - ไม่ขับรถเร็วและชิดไหล่ทาง เพื่อลดความเสี่ยงจากหินหล่นหรือดินสไลด์ปิดทับเส้นทาง - สังเกตสภาพแวดล้อมริมทาง หากระดับน้ำในร่องน้ำเพิ่มสูงขึ้นและมีสีเดียวกับดินภูเขา มีร่องรอยดินสไลด์ ให้หยุดรถในบริเวณที่ปลอดภัย - กรณีดินถล่มปิดทับเส้นทาง ห้ามขับรถผ่านเส้นทางดังกล่าว เพราะอาจได้รับอันตรายจากดินที่ทรุดตัว ที่มา : กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ข่าวจาก facebook อื่นๆ